หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

โยคะ - Yoga

 โยคะ
      โยคะเป็นวิถีแห่งการฝึกตนเองที่มีมาแต่สมัยโบราณ  มีแหล่งกำเนิดที่อินเดีย  ซึ่งปัจจุบันมีรูปแบบการสอนที่แตกต่างกันไป   และเริ่มต้นผู้เรียนต่างเข้าใจว่าโยคะอาสนะคือโยคะ  และผู้เรียนต่างมุ่งหวังประโยชน์โยคะเพื่อสุขภาพดี
โยคะคือการฝึกปฏิบัติ    เราต้องเรียนจากการปฏิบัติฝึกฝนจึงจะเรียกว่าโยคะ และโยคะ เป้าหมายที่แท้จริงของโยคะคือการฝึกตน ให้เกิดศักยภาพสูงสุด เพื่อนำไปสู่การควบคุมตนเอง  และความอิสระ หรือความหลุดพ้น

     ท่านมหามุนีปตัญชลี (Patanjali) ผู้ที่ได้รับสมญานามว่า “บิดาแห่งโยคะ” ท่านเป็นผู้ที่รวมรวมหลักและท่าปฏิบัติโยคะ ซึ่งเราเรียกว่า “โยคะสูตร”   โยคะมีรากศัพท์มาจากภาษาสันสฤกติว่า ยุชร หรือ ยุช หมายถึงการรวมกัน การเชื่อมโยง หรือการโยงเข้าหากัน โยคะถือเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่กล่าวถึงการควบคุมร่างกายและจิตของมนุษย์  เพื่อจุดประสงค์หลักเพื่อให้ผู้ปฏิบัติตามหลักได้บรรลุถึงระดับจิตใจที่เป็นอิสระ และปราศจากเครื่องผูกพันทั้งปวง หลักของโยคะมีมาก่อนสมัยพุทธกาล โยคะไม่ใช่ศาสนา แต่ก็เป็นแนวทางของหลายศาสนานำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตได้
ผู้สนใจโยคะเบื้องต้น มักเข้าใจว่า การฝึกทำอาสนะ คือ ทั้งหมดของการฝึกทำโยคะ!  ในความเป็นจริง โยคะประกอบด้วยขั้นตอน 8 ประการ ที่เอื้อ ซึ่งกันและกัน  ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากโยคะ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง เรียนรู้ ทำความเข้าใจ และฝึกองค์ประกอบทั้ง 8 ประการนี้ ควบคู่กันไป  เราสามารถเปรียบอัษฎางค์โยคะกับกงล้อ 8 ซี่ของวงล้อ  ล้อที่ประกอบด้วยกงที่สมบูรณ์เท่านั้น ที่จะเคลื่อนไปข้างหน้าได้ ที่จะนำพาเราไปสู่เป้าหมายได้ 
 1 ยมะ คือหลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น (หมายรวมถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย) ได้อย่างสันติ มีอยู่ 5 ประการ
  • อหิงสา                    การไม่ทำร้ายชีวิต การไม่เบียดเบียน การแก้ปัญหาโดยไม่ใช้ความรุนแรง
  • สัตย์                         การรักษาสัตย์ ไม่โกหก
  • อัสเตยะ                   ไม่ลักทรัพย์ ไม่ละโมบ ไม่ตกเป็นเหยื่อของความโลภ
  • พรหมจรรย์             การประพฤติตนไปบนหนทางแห่งพรหม (พรหม จรรยา)
  • อปริครหะ               คือการไม่ถือครองวัตถุเกินความจำเป็น
2 นิยมะ คือวินัยต่อตนเอง มีอยู่ 5 ประการ เช่นกัน
  • เศาจะ                      หมั่นรักษาความสะอาดบริสุทธิ์ ทั้งกาย – ใจ
  • สันโดษ                   ฝึกพอใจในสิ่งที่ตนเองมีอยู่
  • ตบะ                         มีความอดทน อดกลั้น
  • สวารยายะ               หมั่นศึกษา เรียนรู้ ทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับโยคะ และ เรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง
  • อศวรปณิธาน          ฝึกเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน มีความศรัทธาในโยคะ ที่เรากำลังฝึกปฏิบัติ
3. อาสนะ  คือการฝึกฝนร่างกายให้มีคามสมดุล
4. ปราณยามะ  คือการฝึกกำหนด ควบคุม ลมหายใจ เพื่อการควบคุมอารมณ์ของตนให้สงบ
5. ปรัทยาหาระ  คือการฝึกสำรวมอินทรีย์  ฝึกควบคุมประสาทสัมผัสทั้ง 5 รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และ จิต
6. ธารณะ  คือการฝึกสติให้กำหนดรู้อยู่กับสิ่งใดสิ่งเดียว อยู่กับเรื่องใดเรื่องเดียว Concentration
7. ฌาน  คือการเพ่งจ้องอยู่กับสิ่งที่กำหนด จนดื่มด่ำ หลอมรวมเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับสิ่งนั้น Meditation
8. สมาธิ คือการฝึกจิต การยกระดับจิตให้สูงขึ้น เป็นสภาวะที่พ้นไปจากระดับจิตทั่วไป  Trans Consciousness

ปัจจุบันมีผู้สนใจเรียนโยคะมากขึ้น เพราะโยคะสามารถช่วยเหลือเยียวยาได้หลายทาง  ไม่ว่าจะสุขภาพกายหรือจิตโยคะต่างมีผลประโยชน์ที่สูงสุดต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์   โยคะจึงให้ประโยชน์ต่อตนผู้ฝึกและผู้อื่น  ผู้ฝึกจึงได้รับ ประโยชน์ต่างระดับของความสนใจหรือผู้เรียนศึกษาอย่างจริงจัง
ส่วนมากผู้ที่มาฝึกโยคะ   เริ่มเรียนเพราะต้องการผลประโยชน์ทางสุขภาพทางกาย และอาจเข้าใจว่าโยคะคือการออกกำลังกาย  และเมื่อผู้เรียนสนใจมากระดับสูงขึ้นไป  จะเข้าใจโยคะ ถึงขั้นศึกษาอย่างจริงจัง  นั่นก็เนื่องจากเขาเหล่านั้นได้รับผลประโยชน์สูงสุดคือการหลุดพ้นและอิสระจากความทุกข์    สุขภาพร่างกาย และจิตใจ ถือว่าเป็นผลพลอยได้ด้วยซ้ำไป
 ไม่ว่าท่านจะสนใจอยู่ระดับไหนก็ตาม    เพราะประโยชน์ที่สูงสุดต่อสุขภาพดี ความสุขสงบต่อตนเองและผู้คนรอบข้าง  โยคะจึงเหมาะสมกับทุกเพศทุกวัยและเราผู้เรียนจะได้รับผลประโยชน์จากการปฏิบัติโยคะ ไม่ใช่จากการอ่านจากตำรา และไม่ใช่ปาฏิหาริย์ใด ๆ ทั้งนั้น โยคะเกิดผลต่อเมื่อเราปฏิบัติต่อเนื่อง   โยคะอาสนะเป็นวิถีการพึ่งตนเองท่านสามารถปฏิบัติด้วยตัวเองได้ เมื่อชำนาญแล้ว
ข้อแนะนำในการฝึกโยคะ 
1. ควรฝึกในที่สะอาดและสงบ ปราศจากการรบกวน อากาศถ่ายเทสะดวก
2. ควรฝึกบนพื้นที่เรียบและอ่อนนุ่ม
3. ก่อนการฝึกควรขับถ่ายให้เรียบร้อยเสียก่อน
4. หากอาบน้ำก่อนฝึกจะฝึกได้ดีขึ้น และหลังฝึก 15 นาทีควรอาบน้ำ
5. ควรฝึกในขณะที่ท้องว่าง
6. ในการฝึกหายใจผ่านรูจมูกเท่านั้นไม่ควรกลั้นหายใจ
7. ควรลืมตาระหว่างการฝึก
8. ควรจบการฝึกด้วยท่าศพทุกครั้งเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า 
ข้อดีของโยคะ
1. ตั้งแต่การฟื้นฟูสมดุลการทรงตัว ความยืดหยุ่น ความแม่นยำ 
2. สุขภาพ และร่างกายที่แข็งแรง 
3. การสร้างความสงบด้านจิตใจ ความสมดุลทางอารมณ์ และความแข็งแรง"ภายใน"
4. ในด้านร่างกาย ท่าโยคะช่วยกระตุ้นต่อม อวัยวะกล้ามเนื้อ และผ่อนคลายความปวดเมื่อย 
5. ทำให้การย่อยอาหารและการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น อาการอันมีผลมาจากความเครียด เช่น การนอนไม่หลับ ความเหนื่อยล้า กล้ามเนื้อกระตุก ความกังวล และอาการอาหารไม่ย่อย จะดีขึ้นมาก
6. การฝึกท่าโยคะอย่างต่อเนื่องจะมีผลอย่างล้ำลึกต่อร่างกายภายในโดยทำให้เกิดความมั่นคงทางอารมณ์ สมาธิ และความมั่นใจแถมยังใช้อุปกรณ์น้อย 
7. ใช้สถานที่ในการฝึกก็ไม่มากมาย
8. ปฎิบัติได้ทุกโอกาส  
ประโยชน์ของโยคะโดยรวม
โยคะช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกาย และจิตใจ  เพราะเมื่อเรากำหนดลมหายใจ ช่วยให้ใจมีสมาธิ จิตใจจะผ่อนคลายไปพร้อม ๆ กับร่างกาย  โยคะจึงเป็นกายบำบัดและจิตบำบัดในเวลาเดียวกัน  
อาสนะของโยคะจะมีผลต่อระบบของร่างกายทั้งหมด เช่น ระบบกระดูกและโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง  ระบบกล้ามเนื้อ ระบบเลือด ระบบน้ำเหลือง ระบบประสาทและสมอง ระบบต่อมไร้ท่อ  ซึ่งการฝึกโยคะอาสนะจะจัดความยืดหยุ่นและจัดความสมดุลให้ทุกระบบมีความสมดุลและกระตุ้นการทำงานของระบบนั้นให้สมบูรณ์ขึ้น   และนั่นหมายถึง  การที่ร่างกายบำบัดตัวเองด้วยระบบของมันเอง   ร่างกายสามารถบำบัดตัวเองจากสภาวะของอาการเจ็บป่วยในทุกระบบที่สภาวะร่างกายขาดความสมดุลได้    ซึ่งหากผู้ฝึกอย่างต่อเนื่องจะทำให้อาการต่าง ๆทุเลาลงหรือหายจากโรคได้
โยคะอาสนะถือว่าเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งจะมีผลช่วยทำให้ร่างกาย ได้จัดระบบร่างกายอย่างสมดุลและมีผลต่อความแข็งแรงของร่างกาย  ซึ่งจะแตกต่างจากการออกกำลังกายทั่วไปดังนี้
โยคะอาสนะ และ ปราณยามะ การหายใจลึก ยาว ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น ปอดขยายการหายใจมากกว่าปกติถึง 6 เท่า ทำให้ความยืดหยุ่นของปอดดีขึ้น ระบบการหายใจจะโล่งขึ้น เป็นการนวดระบบอวัยวะภายใน จึงทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดดี
โยคะคือการฝึกตนที่มีปรัชญาจากโยคะสูตร ของมหามุนีปตัญชลี   ผู้ฝึกตนในวิถีของโยคะ ประโยชน์แห่งความสุขสงบของการดำเนินชีวิตชีวิตทุกรูปแบบ ทุกวิถีชีวิตมนุษย์ วัฒนธรรม ศาสนา  ภาษา  ได้นำโยคะมาปรับใช้ในการการดำเนินชีวิต  ตามสภาวะพื้นฐาน และโยคะคือผลประโยชน์ของมนุษย์ที่พึงปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของชีวิต  


ที่มา : http://www.beyogachiangmai.com 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น